โดยจากการสัมนาในงานจะพูดถึงกลยุทธ์หลักๆ 3 กลยุทธ์ที่นำมาประยุกต์ใช้ นำโดยกลยุทธ์น่านน้ำสีคราม(Blue Ocean Strategy)โดย อ.ธันยวัชร์ ไชยตระกูลไชย กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว(Green Ocean Strategy) โดย ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ และกลยุทธืน่านน้ำสีขาว(White Oceanstrategy) โดย คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ซึ่งผมได้จับประเด็นสั้นๆ ตามความเข้าใจได้ดังนี้นะครับ
กลยุทธ์น่านน้าสีคราม จากการศึกษาของ W.C.Kim ซึ่งได้ทำตรงกันข้ามกับกลยุทธ์น่านน้ำสีแดงที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเลือดซ่าน ของ M.E.Potter ปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์ระดับโลก ใจความสำคัญคือเราต้องรู้จัก มองในช่องว่างของอุตสาหกรรมที่เราอยู่ มองถึงโอกาสทางการตลาดที่ยังไม่มีใครครอบครอง แล้วเราเข้าไปครอบครอง ณ จุดนั้น ด้วยยุทธวิธีหลักๆ 4 ประการคือ ลดสิ่งที่มากเกินความจำเป็นในธุรกิจ เพิ่มสิ่งที่เป็นจุดแข็งของธุรกิจ สร้างสิ่งใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมและแตกต่างจากคู่แข่ง เลิกสิ่งที่ไม่จำเป็นและไม่ได้เป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เมื่ออ่านดูอาจจะดูเหมือนพูดง่ายทำยาก ... อันนั้นก็จริง แต่กรณีศึกษาในปัจจุบันที่เรามองเห็นก็ตัวอย่างเช่น iPhone ที่เราๆ ท่านๆ ใช้กันทุกวันนี้ละกัน iPhone ต่างจากมือถืออื่นๆ ด้วยการ
- ลด การออกปริมาณรุ่นและราคาต่างๆ ที่มือถือทั่วไป ณ ขณะนั้นแข่งขันกันจนเรียกได้ว่าออกแทบทุกเดือน คนมีเงินได้มือถือสมประกอบ คนตังน้อยได้มือถือพิการเดี๋ยวมีกล้องไม่มี mp3 เด่วมีนู่นไม่มีนี่ iPhone จะออกมาเพียง design เดียว ต่อ 1 รุ่น ต่อปี
- เพิ่ม จำนวน app ใหม่ๆ และหลายหลาย ด้วยการสร้าง app store ให้ programmer สามารถพัฒนาและขาย app และลูกค้าสามารถซื้อได้ในราคาถูก
- สร้าง อวัยวะใหม่ให้ทุกคนด้วย มือถือที่มี Design ที่โดดเด่น ไม่เหมือนใคร และสามารถรองรับความต้องการการใช้งานหลากหลาย ทั้งการเล่นเน็ท การโทรศัพท์ socialnet work และการใช้งานใหม่ๆ จาก app ที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- เลิก ปุ่มกดที่ถือว่าเป็นเป็นส่วนประกอบสำคัญของมือถือทั่วไป โดยแอปเปิลคิดว่าไม่จำเป็นพร้อมแทนที่ด้วยระบบสัมผัสชั้นยอด
กลยุทธ์น่านน้ำสีเขียว หลายๆ คนคงตระหนักเป็นอย่างดีถึงวิกฤตการภาวะเลือกกระจกที่ทำให้โลกเราเปลี่ยนไปอย่างเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบัน กลยุทธ์นี้จึงกล่าวถึงการทำธุรกิจไปพร้อมกับการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยธุรกิจไหนที่ทำลายสิ่งแวดล้อมก็ให้หันกลับมาทำ CSR เหมือนที่บริษัทใหญ่ทำอยู่ในปัจจุบัน อาจจะเป็นการปลูกต้นไม้ทดแทน การเลือกใช้วัตถุดิบและการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การนำทรัพยาการที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การลดของเสียที่เกิดขึ้นในระบบ หรือทำทุกวิถีทางเพื่อลดอัตราการปล่อยก๊าซที่ก่อให้เกิดภาวะเลือนกระจก พร้อมพัฒนาตนเองไปสู่ธุรกิจสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบโดยในต่างประเทศหลายๆ ประเทศโดยเฉพาะทางยุโรป สินค้าที่เราจะขายจะต้องมีการติดฉลาด Carbon Foot Print ซึ่งบ่งบอกว่าสินค้าตัวนี้มีการควบคุมและลดการปล่อยก๊าซเลือนกระจก ซึ่งในอนาคตสินค้าเหล่านี้จะสามารถสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภครู้สึก ว่าการใช้สินค้าเหล่านี้มีส่วนในการช่วยโลกลดก๊าซเลือนกระจก
กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นการทำธุรกิจด้วยการนำธรรมะเข้ามามีส่วนร่วมในระบบการจัดการขององค์กร โดยคุณ ดนัยได้สร้างองค์กรต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทุกคนรู้จักรักษาศีล คิดดี พูดดี ทำดี และเมื่อทุกๆ คนเป็นคนดี บริษัทย่อมเป็นบริษัทที่ดี และสุดท้าย ประเทศก็ย่อมเป็นประเทศที่อุดมด้วยคนดี โดยกลยุทธ์นี้ยังเป็นกลยุทธ์ที่ไม่มุ่งหวังกำไรสูงสุดเป็นตัวเงิน แต่ยังรู้จักปันคืนสู่สังคมตามหลักการของ Social Enterprise และวัดผลกำไรที่ความสุขและความดีที่ได้ทำ
สุดท้ายกลยุทธ์เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยให้องค์กรธุรกิจขับเคลื่อนไป เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืน แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ถึงแม้องค์กรใดจะทำเพื่อคนอื่น ทำเพื่อสิ่งแวดล้อม แต่ถ้าเราไม่มีการทำเพื่อบุคลากรของตนเอง ด้วยการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพของคนในองค์กร องค์กรนั้นก็ยากที่จะประสบความสำเร็จและอยู่ได้ในอนาคต ดังคำกล่าวที่ว่า "โลกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีจะขับเคลื่อนได้ต้องมีคน"