วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ติดปีกธุรกิจ SME ...ทะยานสู่ตลาดทุน


วันที่ 20 มิ.ย. ผมได้เข้าร่วมสัมนาของทาง Kbank หรือธนาคารกสิกรไทย ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดสัมนาขึ้นในหัวข้อ " ติดปีกธุรกิจ SME ...ทะยานสู่ตลาดทุน " ใจความว่าไง ผมจะเล่าคร่าวๆ นะคับ (แต่ก่อนอื่นจะบอกว่า แอร์ในห้องสัมนา หนาวมาก หนาวยิ่งกว่าลำปางอีก บวกกับเพิ่งเข้ามาศึกษาเรื่องหุ้นไม่นาน อาจจะไม่สามารถลงลึกได้ ขอออกตัวไว้ก่อนละกันค้าบ อิอิ)

หลายๆ คนที่เป็น SMEs คงจะพบเจอกับปัญหาสามัญประจำบ้านเหล่านี้ ต้องการจะขยายธุรกิจแต่ขาดเงินทุนในการขยาย จะกู้ธนาคารก็ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน พอธนาคารอนุมัติเงินกู้ก็โดนดอกเบี้ยสูงบานตะไท ครั้งจะไปขอหยิบยืมเงินจากญาติพี่น้องก็กลัวมีปัญหาทีหลัง จะไปหานายทุนก็เห็นจะยาก เป็น SMEs ทั้งที ทำไมมีแต่ปัญหา ... ดังนั้นการสัมนาครั้งนี้ อาจจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ 


หัวข้อในการสัมนาครั้งนี้ จะพูดถึง 3 เรื่องใหญ่ๆ นะคับ ก็คือ
1. ขุมทรัพย์ทางการเงินใหม่ Venture Capital
2. เมื่อ SMEs ทยานสู่ธุรกิจมหาชน
3. ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับรัฐบาลใหม่ ปี 54


เรามาเริ่มที่หัวข้อแรกกันดีกว่า


1. ขุมทรัพย์ทางการเงินใหม่ Venture Capital
  • คำว่า Venture Capital ก็คือการหาผู้ร่วมลงทุนในธุรกิจของเราหรือง่ายๆ ก็คือการหุ้นกันนั่นแหละคับ โดยเราเอาเงินของเค้ามาใช้ เค้าก็หวังว่าธุรกิจของเราจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และคนที่เอาเงินให้เราใช้ เค้าก็หวังว่าเงินที่ลงไป จะได้กลับคืนมาเป็นปัญผลทุกๆ ปี และมูลค่าหุ้นจะเพิ่มขึ้น
  • ทีนี้การเลือกหุ้นส่วนนี่แหละ ปัญหา เลือกหุ้นส่วนก็เหมือนเลือกคู่ชีวิต หุ้นส่วนดี ก็เหมือนได้คู่ครองที่ดี อยู่กินกันไปจนตาย แต่ได้หุ้นส่วนไม่ดี ก็เหมือนได้คู่ไม่ดี มีแต่จะรอวันหย่าร้าง มิหนำซ้ำยังอาจทำให้ชีวิตและธุรกิจของเราต้องจบไปพร้อมสายสัมพันธ์ของหุ้นส่วนก็เป็นได้ ... น่ากลัวล่ะสิ ^^
  • ทั้งนี้ ทาง kbank ก็เลยอาสา โฮ่ๆๆๆๆ "ธุรกิจใครดี มาหุ้นกับเราไหมล่ะ" ธนาคารผันตัวจากผู้ปล่อยเงินกู้ มาเป็นหุ้นส่วน ... น่าสนใจป่ะล่ะ แต่ทั้งนี้ ทางธนาคารได้จัดทีมประเมินสภาพธุรกิจของเราและศักยภาพของเรา ว่าธุรกิจของเราน่าสนใจ และจะเติบโตไปได้หรือไม่ ถ้าผ่าน ธนาคารก็จะมาถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสม แต่จะไม่ได้ถือครอง โดยอำนาจการตัดสินใจยังเป็นของเราอยู่ ส่วนธนาคารจะมาในรูปแบบที่ปรึกษามากกว่า ... แต่ก็ต้องทำใจนะครับ ว่าเมื่อหุ้นแล้ว ธุรกิจก็จะไม่ใช่ของๆ เรา 100% ทั้งนี้ ถ้ายอมรับและยืดหยุ่นได้ รวมทั้งธนาคารประเมินว่าธุรกิจเราไปได้ ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของ SMEs ไทย ที่กำลังหาแหล่งเงินทุนจะทำธุรกิจ (ใครสนใจ คุยกะ kbank โลด)
2. เมื่อ SMEs ทยานสู่ธุรกิจมหาชน


  • โดยปกติ การเล่นหุ้น ก็คือการที่เราฝัน ฝันว่าอยากเป็นเจ้าของธุรกิจใหญ่ๆ ผลประกอบการดีๆ ดังนั้นธุรกิจใหญ่ๆ ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์หรือการเป็นธุรกิจมหาชน ก็คือการเอามูลค่าของบริษัท ทั้งผลประกอบการ กำไรขาดทุน ทรัพย์สินหนี้สิน ต่างๆ นานา เอามาแสดงให้ทุกๆ คนเห็นเพื่อจูงใจให้คนทั่วไป เข้ามาถือหุ้นในกิจการนั้นๆ คนทั่วไปอย่างเราๆ ก็เอาเงินที่เรามี เข้าซื้อซื้อหุ้นของบริษัท ตามแต่กำลังที่เราจะซื้อได้เพื่อมุ่งหวังผลกำไรจากเงินปันผลที่ควรจะได้มากกว่าเอาไปฝากธนาคาร และมุ่งหวังว่าผู้บริหาร จะสามารถทำให้มูลค่าหุ้นที่เราถือไว้ จะมีมูลค่ามากกว่าเงินที่เราซื้อไปในแต่ละหุ้น (ตัวอย่างเช่น ปตท. อุตสาหกรรมพลังงานยักษ์ใหญ่ของไทย ณ ตอน มีข่าวมาบตาพุด ถ้าจำไม่ผิดราคาของ ปตท. จะอยู่ที่ราคา 150 บาทต่อหุ้น แต่ปัจจุบัน ราคาหุ้น ปตท. อยู่ที่ 300 ++ ... แม่เจ้า ใช้เวลาไม่ถึงปี มูลค่าหุ้นเพิ่มเท่าตัว กำไรเรียกได้ว่าเกิน 100% อีกนะเนี่ย ... ดึงดูป่ะล่ะ)
  • แล้วบริษัทมหาชนได้อะไร ...? ง่ายๆ ครับ การที่บริษัทจะเพิ่มทุน ถ้าไปกู้แบงค์ก็ต้องเสียดอกเบี้ย แต่ถ้าแบ่งสันปันส่วนในรูปแบบหุ้นให้พวกเราๆ ท่านๆ มาซื้อ ลองคิดดู บริษัทเล็กๆ โนเนม ซอยหุ้น สัก 100,000 หุ้น หุ้นละ 10 บาท ... เมื่อขายหุ้นทั้งหมด จะได้เงินลงทุนเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท ... ปกติ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เขาซอยเป็นล้านหุ้นครับ คิดดูว่าแค่เริ่มขายเข้าตลาด ได้เงินลงทุนเท่าไหร่ นี่ยังไม่รวมการซื้อขายเมื่อมูลค่าเพิ่มขึ้นลดลง ตามกลไกลตลาด และตามขาใหญ่นักปั่นทั้งหลายนะคับ ... แม่เจ้า เงินมหาศาล ไม่ต้องเสียดอกอีกแน่ะ(การเสียภาษีหรือรายละเอียดปลีกย่อย ค่อยว่ากันคับ) ^^
  • คนส่วนใหญ่จะมองว่ามีแต่บริษัทใหญ่ๆ ผลประกอบการเป็นพันๆ ล้าน เท่านั้นแหละที่จะสามารถเป็นธุรกิจมหาชนได้ ... โอ้ววววววววววว  SMEs แล้วอย่างเรา เมื่อไหร่จะได้ขนาดนั้นวะเนี่ย ยิ่งคิดยิ่งเศร้า ผลประกอบการเดือนละล้าน ยังยากเร้ย T-T
  • ดังนั้นทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อเห็นปัญหา เลยจัดสนองความต้องการของ SMEs ด้วยการเปิดตลาดลงทุนใหม่ ที่ชื่อใหม่สมชื่อ นั่นก็คือ ตลาด " Mai " (เปิดมาได้ 12 ปีละนะ)โดย หลักเกณฑ์ของ SMEs ที่สามารถเข้าร่วมได้มีดังนี้
  • ทุนชำระแล้วและส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท (หลังกระจายหุ้นให้ประชาชนแล้ว)
  • มีผลดำเนินงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี กรณีมีการดำเนินงานเพียง 1 ปีต้องมีมูลค่าราคาของหลักทรัพย์เกินกว่า 1,000 ล้านบาท
  • ต้องมีการดูแลกิจการที่ดี เปิดเผยข้อมูลตามความเป็นจิง รายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ติดต่อสอบถามทางตลาดหลักทรัพย์ได้เลยคับ
ใครเข้าเกณฑ์เบื้องต้นนี้แล้วอยากระดมทุนเป็นบริษัทมหาชน ติดต่อตลาดหลักทรัพย์โลด 
3. ทิศทางเศรษฐกิจไทยกับรัฐบาลใหม่ ปี 54
  • หัวข้อนี้ ต้องออกตัวก่อนครับ ว่าด้อยประสบการณ์จิงๆ จะ ลิสน์ ให้อ่านคร่าวๆ เท่าที่จำได้นะคับ
  • เงินเฟ้อ : หลังเลือกตั้งสิ่งที่ต้องระวังที่สุดก็คงเป็นเงินเฟ้อ เพราะเนื่องจากก่อนเลือกตั้งมีการตรึงราคาเพื่อรักษาคะแนนเสียง(อันนี้ก็พอมองกันออก) ตัวเลขเงินเฟ้อในครึ่งปีหลัง อาจจะทะลุ 5% (อันนี้คนที่เห็นจะกระทบจังๆ ก็คงเป็นผู้ใช้แรงงานกับเหล่ามนุษย์เงินเดือนนะคับ ที่เงินเดือนเท่าเดิม ถึงจะเพิ่มก็คงเพิ่มไม่ทันเงินเฟ้อ ของใช้ในชีวิตประจำวันแพงเอาๆ ... คิดถึงเพลง... ทำยังไงได้ ก็ไม่ได้เกิดมาบน กองเงินกองทอง ฮี่ๆๆ)
  • ค่าเงิน : ค่าเงินของทางยุโรป หรือเงินยูโร มีแนวโน้มจะอ่อนค่าลงเนื่องจากปัญหาวิกฤตของประเทศกรีซ รวมทั้งถ้าสหรัฐประกาศนโยบายฟื้นฟูพร้อมการปรับตัวของเศรษฐกิจพี่เค้าดีขึ้นก็จะทำให้ค่าเงินยูโร อ่อนค่าลงครับ ... ส่วนเงินบาท เนื่องด้วยอานิสงค์ของ เศรษฐกิจฝั่งเอเชียดีขึ้นๆ ก็มีแนวโน้มที่เงินบาทจะมาแตะที่ 28-29 บาทต่อ 1 เหรียญ ใครทำส่งออกก็ดูเรื่องค่าเงินดีๆ นะคับ
  • ราคาทอง : ราคาทองคำตอนนี้ สามารถเล่นได้ครับ สำหรับมือชั้นเซียน ประเภทหัตถ์เทพเจ้า ฮ่าๆๆๆ ... เราๆ ท่านๆ หวังจะกำไรจากทองตอนนี้ขอเตือนว่าให้แตะเบรกแล้วนั่งสมาธิลดความโลภและมองหาตลาดทุนอื่นไว้ก่อน เนื่องจากราคาทองตอนนี้แทบจะเรียกได้ว่า สูงเกิ๊น!!! การเข้าเล่นช่วงนี้ไม่เซียนจิงอาจจะเจ็บตัวจากการ crash เพราะวัฏจักรของทอง เมื่อสูงขึ้นมากๆ มีโอกาสที่ราคาจะดิ่งลงในแบบที่เรียกได้ว่า บันจี้จั้มป์ โอ้ววววววววว ... สำหรับมือชั้นเซียน ตามสบายคับ ผมไม่ขัด
  • ราคาน้ำมัน : สำหรับตลาดโลก คาดว่าราคาน้ำมันจะไม่ต่ำกว่า 100 เหรียญต่อบาเรลล์ ผนวกกับปัญหาการเมืองของทางประเทศกลุ่มพ่อค้าน้ำมันที่ยังไม่จบไม่สิ้น และความต้องการของทั้งโลกยังสูงอยู่ รับรองได้ว่าราคาไม่ต่ำกว่านี้แน่ ... ส่วนในไทย อาจจะมีข่าวร้ายสำหรับผู้ประกอบการ เนื่องจากไม่สามารถฟันธงได้ว่า รัฐบาลใหม่จะเทพจัด หาเงินมาพยุงราคาน้ำมันได้เหมือนก่อน (ณ ปัจจุบัน กองทุนน้ำมันได้ถูกใช้ไปหมดแล้ว) อาจจะเห็นการลอยตัวราคาน้ำมันโดยเฉพาะ ดีเซล เตรียมตัวไว้เน่อ
  • หุ้น : ผมว่า อาจจะเป็นทางออกสำหรับผู้อยากลงทุนในสภาวะ ทองคำน่ากลัว เงินเฟ้อกระจาย ข้าวของราคาขึ้นเอาๆ จะสรุปอย่างกำกวมให้ฟัง ... ฮ่าๆๆๆ ถ้าเศรษฐกิจฝั่งยุโรปดีขึ้น เงินจากฝรั่งจะไหลเข้ามาทำให้คนเล่นหุ้นคึกคักๆ (ผมคิดว่าหลังเลือกตั้ง ไงมันก็ไหลเข้ามากว่าปัจจุบันแน่ๆ) แนะนำนักลงทุนด้อยประสบการณ์อย่างผม ให้หา หุ้นที่บริษัทเชื่อถือได้ ผลกำไรดี ปันผลดีๆ อย่างน้อย 7% เพื่อหนีอัตราเงินเฟ้อ และจากปัญหาของประเทศในฝันของคนไทย อย่างญี่ปุ่น น่าจะเป็นสัญญาณที่ทางญี่ปุ่นจะเข้ามาขยายฐานการผลิตในไทย (ใครจาซ่อมโรงงาน รอซึนามิ อีกรอบล่ะเนาะ) ให้ดูอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลักในไทยเน่อ แล้วถ้าฝั่งยุโรป ซึมเศร้าเหงาหงอยล่ะ ท่านวิทยากรบอกให้ดูสินค้าโภคภัณฑ์และอาหารนะคับ (ผมว่าอาหารไงก็มาแน่ ถ้าโลกเราเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้นอย่างนี้) แล้วก็พวกหุ้นของร้านโชว์ห่วยพี่ใหญ่ในบ้านเราเช่น CPALL MAKRO BIGC ต่างๆ นาๆ รวมถึงสินค้าบันเทิงอย่าง Major MCOT ด้วยนะคับ

ส่วนใครที่รอซื้อหุ้นปตท. อย่างผม อิอิ แนะนำ ให้รอจังหวะดีๆ แล้วซื้อให้ทันนะคับ... นี่แหละที่ยาก
ป.ล. ใครอยากรู้จักคำว่าหุ้นเพิ่มเติม ดูได้จาก Link นี้เลยคับ
http://www.youtube.com/watch?v=sPYFGyUa9-M&feature=player_embedded
ผิดพลาดประการใด คุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้นะคับ

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มารู็จัก 4P's กันเถอะ


เศรษฐกิจของโลกทั้งโลกมาจากการค้า ประเทศแต่ละประเทศต้องการเงินเข้าประเทศเยอะๆ ก็ต้องพึ่งการค้าขายจากหลายๆ บริษัททั้งเล็ก ใหญ่ หรือ SMEs ...ดังนั้นคนหลายคนจึงใฝ่ฝันจะมีธุรกิจของตนเอง คนบางคนต้องการจะสืบทอดธุรกิจที่บ้าน แต่หัวใจหลักของการค้าคงหนีไม่พ้นการเข้าใจหลักการที่แสนจะพูดง่ายแต่ทำยากอย่างหลัก 4 P เพระฉะนั้น เรามาคุยเรื่องไอ้หลัก 4 P นี่ดีกว่า

หลายๆ คนคงได้ยินไอ้คำว่า 4 P's marketing มาในหลายๆ โอกาส ทั้งจากในหนังสือ จากนักวิชาการพูดกัน จากในห้องเรียน หรือจากอินเตอร์เน็ท แต่หลังจากได้ยินได้ฟัง ผมคิดว่า ความเข้าใจของหลัก 4 P's ของแต่ละคน ก็คงไม่เหมือนกัน ผมจึงอยากเอาความเข้าใจของผม มาแชร์ ให้เพื่อนๆ ได้ลองอ่านและมาแนะนำแลกเปลี่ยนกัน คงจะดีกว่าผมเข้าใจแล้วคิด ทึกทักเอาเองเนาะ ^^


แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้จัก ไอ้ที่พูดๆ มา 4 P มันมีอะไรบ้าง ในทุกๆ ตำรา ก็คงหนีไม่พ้น 4 ตัวนี้นะ 1.Product สินค้าหรือบริการที่จะขาย 2.Price ราคาของสินค้า 3.Place สถานที่ที่เราจัดจำหน่าย 4.Promotion โปรโมชั่นในการเรียกลูกค้า ... หลายๆ คนคงอาจถามว่า แล้วไอ้ที่นักวิชาการบางคน หรือหนังสือบางเล่มเขียน 6P 8P มันอันเดียวกันหรือป่าว ... ผมสรุปตามความเข้าใจนะ ผมว่ามันก็มีรากเหง้าต่อยอดมาจาก 4P นี่แหละ ก็คงเหมือนกับ ปัจจัย 4 คนเรา อาหาร ที่อยู่ เครื่อนุ่งห่ม ยารักษาโรค แล้วก็ต่อยอดตามยุคสมัย ปัจจุบันอาจะเป็น อินเตอร์เน็ท สมาร์ทโฟน อะไรก็ว่ากันไป


งั้นในเมื่อเรารู้จักได้เจ้า 4P นี่แล้ว เรามาเข้าใจใน P แต่ละตัวกันดีกว่าเนอะ


Product คำว่าโปรดัก ในที่นี้คงไม่ได้หมายถึงสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงการบริการ หรือการทำการค้าทุกอย่างที่สามารถเปลี่ยนให้มันกลายเป็นเงินๆ ทองๆ หลายๆ คนคงคิดว่า งั้นก็ง่ายๆสิ แค่เราคิดว่าเราจะขายอะไร มันก็คือ โปรดักไง .... คิดงี้ก็รวยกันทั้งบ้านทั้งเมืองแล้วพี่น้อง

ฉะนั้น หลักการสร้าง สินค้าคงต้องแตกต่างจากคู่แข่ง มีทั้งรูปลักษณ์การออกแบบที่ดี และสามารถใช้งานได้ ไม่ใช่สวยแต่รูปจูบไม่หอม สินค้าและบริการของหลายๆ คนอาจจะใส่ความแปลกใหม่ในแง่ขอเทคโนโลยี อย่างที่หลายๆ คนอาจเรียกว่า มี innovation แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของโปรดัก ก็คือ ทำออกมาแล้วตอบสนองความต้องการของลูกค้า "ทำออกมาดีแค่ไหน ลูกค้าไม่สนใจก็จบเห่ล่ะค้าบ"



Price ความหมายสั้นๆ "ราคาพอดีๆ ลูกค้าชอบ ราคาถูกไปแพงไป ลูกค้าไม่ซื้อ" ก็คือ การตั้งราคานี่เองแหละคับ หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นสมการการตั้งราคา >>> ราคาขาย = ต้นทุน + กำไรที่อยากได้ <<< ทุกวันนี้ลองทำดูสิคับ แล้วจะรู้ว่าผิดมหันต์ ... งั้นถ้าเราอยากได้กำไร เยอะๆ ทำไงล่ะ ? มีสมการคิดง่ายๆ ครับ >>>กำไร = ราคาจริงจากตลาด - ต้นทุน<<< เนื่องจาปัจจุบัน ราคาสินค้าส่วนใหญ่ถูกกำหนดตามราคาตลาด ใครอยากได้กำไรเยอะๆ ก็ต้องทำสินค้าให้มีมูลค่าสูงๆ ลูกค้าซื้อแล้วรู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง ในต้นทุนที่ต่ำ ตัวอย่างสินค้าในดวงใจคงหนีไม่พ้น ไอโฟน ไอแพท ของพี่สตี๊ฟ จ๊อบ ที่สร้างสมาร์ทโฟน ที่ถือแล้วดูเท่ ใช้งานได้ครบครัน ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่เสียไป แม้จะสั่งวัตถุดิบส่วนใหญ่จากจีนและเกาหลีก็ตาม ^^

Place ในที่นี้คงหมายถึง ช่องทางการจัดจำหน่าย บางคนอาจจะบอกว่าคือการเช่าที่ไว้สำหรับเปิดหน้าร้าน หรือการเอาสินค้าไปฝากขายในร้านค้าต่างๆ ทั้ง 7-11 แมคโค โลตัส ฯลฯ แต่ในปัจจุบัน ช่องทางการจัดจำหน่างที่ใหญ่ที่สุดคงหนีไม่พ้นโลกอินเตอร์เน็ท การเปิดหน้าร้านออนไลน์ หรือการซื้อขายของออนไลน์

หลักการเลือกทำเลการขายง่ายๆ จากคำพูดที่ว่า "ของดีๆ วางขายผิดที่ ขายไม่ออก ของไม่ดีวางขายถูกที่ กลับขายออก"ทั้งในโลกแห่งความเป็นจริง ทั้งในโลกอินเตอร์เน็ท นั่นก็คือ เราต้องรู้ว่า เราจะขายอะไร ลูกค้าของเราเป็นใคร ลูกค้าของเราอยู่ไหน พูดง่ายๆ แต่ทำยากพอสมควรนะครับ แต่ถ้าเพื่อนๆ ลองสังเกตกันดู ในเมืองไทย มีน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่ง สามารถเข้ามาแชร์ส่วนแบ่งการตลาด จาก โค้ก เปปซี่ ทั้งๆ ที่เป็นแบรนด์คนไทย น่าสนใจไหมล่ะคับ ว่าทำได้อย่างไร เค้าวางขายที่ไหนเป็นส่วนใหญ่ แล้วใครเป็นลูกค้าของเขา



Promotion สำหรับ P ตัวสุดท้าย ผมคิดว่า P ตัวนี้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการดึงดูดลูกค้า เป็นตัวที่จะช่วยให้เกิดการเพิ่มลดของยอดขาย ในปัจจุบัน โปรโมชั่น คงไม่ใช่แค่การลดราคาสินค้าเพื่อให้ลูกค้ามาซื้อเยอะๆ หรือการจัดแคมเปญ แจกบ้าน แจกเงินล้าน แจกรถ เพราะการทำเช่นนี้ เป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้าจำนวนมาก ... แต่ผมว่ามันเป็นการจัดแคมเปญที่ฉาบฉวย ยอดขายจะเพิ่มขึ้นแค่ตอนจัดแคมเปญ แต่หลังจากนั้น สินค้าหลายๆ ตัวกลับพบว่า ยอดขายลดลงฮวบฮาบ บางราย อาจลดลงมากกว่าตอนไม่จัดโปรโมชั่นนี้ด้วยซ้ำ มิหนำซ้ำ ยังมีเสียงบ่นจากลูกค้า ที่คาดหวังว่าตนจะได้รางวัล หรือบางคนได้รางวัล กลับต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเงินที่มากโข บ้างได้ไปเที่ยวต่างประเทศ แต่ต้องควักกระเป๋าเองอีกเป็นเงินก้อนโต

ตัวอย่างการจัดโปรโมชั่นดีๆ ในประเทศไทย หลายๆ คนคงคิดถึงเคสของคุณตัน ณ ตอนที่ยังเป็นผู้บริหารชาเขียว โออิชิ  ที่เคยจัดโปรโมชั่นรวยฟ้าผ่า เปิดฝาได้ล้าน แล้วพบว่าหลังการจัดกิจกรรม ยอดขายลดลงฮวบฮาบ จึงได้แก้เกมส์ด้วยการจัดแคมเปญต่อมา "ไปแต่ตัว ทัวร์ยกแก๊ง" นับได้ว่าเป็นการจัดโปรโมชั่นที่ได้ใจผู้บริโภคไปเต็มๆ คิดดูสิครับ ณ ตอนนั้น การได้ไปญี่ปุ่น นับเป็นความฝันของคนไทยหลายๆ คน ไปทั้งที ได้ไปฟรี ฟรีทั้งค่าตั๋ว ฟรีทั้งที่พัก ค่ากิน แถมยังมีเงินติดกระเป๋าให้ช็อปปิ้งฟรีๆ จำได้ว่าตัวผมเองยังมีฝาโออิชิที่ยังไม่ได้ส่งอีกหลายสิบฝา ... อิอิ